ความรู้ช่วงเทศกาลปีใหม่

 

ทำไมดื่มเหล้า แล้วเมาจนอ้วก จนหมดสติ

ความรู้เรื่องแอลกอฮอล์

 

1. แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อสมอง หลายๆ ส่วน

1.1. ส่วนที่ควบคุมการตัดสินใจถูกผิด การยับยั้งชั่งใจ

ทำให้คนเมา มีความกล้ามากขึ้น

ลุกขึ้นเต้น ร้องรำทำเพลง แบบไม่กลัวไม่อาย

ทำให้คนเมา กล้าพูดมากขึ้น ทั้งๆ ที่ปกติเป็นคนขี้อาย

ทำให้คนเมา กล้าตัดสินใจทำอะไรแผลงๆ ที่เสี่ยงอันตราย เช่น โดดน้ำ, ขับรถเร็วขึ้น

ทำให้คนเมา ตัดสินใจมีเพศสัมพันธุ์กับเพื่อน กับคนแปลกหน้า ได้ง่ายขึ้น เพราะขาดการไตร่ตรองยับยั้งชั่งใจ

1.2. ส่วน Cerebellum 

ซึ่งควบคุมการทรงตัว ทำให้คนเมา เดินโซเซ

1.3. ส่วนการมองเห็น ของประสาทส่วนกลาง

ทำให้คนเมาเห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน 

1.4. รบกวนสมองส่วนบันทึกความทรงจำ  

ทำให้คนเมาที่สร่างแล้วจำอะไรไม่ได้

ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำอะไรลงไปบ้าง

 

2. ยับยั้ง ฮอร์โมน ADH (Antidiurectic hormone) ซึ่งมีหน้าที่ดูดน้ำกลับจากปัสสาวะ

จึงทำให้ปัสสาวะบ่อย ด้วยเพราะร่างกายต้องการกำจัดแอลกอฮอล์ในเลือดออกให้เร็วที่สุด เพราะถือว่า

เอทานอลเป็นสารพิษ จึงพยายามกำจัดผ่านหลายๆ ทาง

ร่างกายจึงพยายามปัสสาวะบ่อยๆ เพื่อขับเหล้าออกให้เร็วที่สุด 

ปกติร่างกายขับแอลกอฮอล์ ทางลมหายใจ+เหงื่อ+ปัสสาวะ 10-20%

นั่นเป็นสาเหตุให้ เราสามารถตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ผ่านลมหายใจ ผ่านเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ที่เราเป่าได้

ผลจากการขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ (dehydrate)

วิตามิน B และเกลือแร่ จำนวนมาก ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น

ปวดหัว หลังการเมา ที่เรียกว่า แฮงค์ (hangover)

//เราจึงควรดื่มน้ำตามมากกๆ ผสมวิตามิน B และเกลือแร่เสริม เพื่อป้องกันการแฮงค์

 

3. ดื่มเหล้าตอนท้องว่าง จะเมาง่ายกว่า ตอนมีอาหาร

การมีแต่แอลกอฮอล์ในกระเพาะ ก็จะดูดซุมได้เต็มที่

แต่การมีอาหารอยู่ด้วย อาหารเหล่านั้นก็จะขวางการดูดซึมให้ช้าลง

เหมือนป่า ช่วยชะลอการไหลของน้ำ

ขยะกีดขวางที่ท่อระบายน้ำทำให้การดูดซึมช้าลง ก็จะเมาช้าลง

อีกทั้งการกินอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่ม แน่นท้อง เราก็จะไม่ดื่มเยอะ

นึกถึงตอนอิ่มๆ ให้กินอะไรเพิ่มคงลำบาก

 

4. ของหวาน ทำให้เมามากขึ้น ไม่มีแหล่งอ้างอิงน่าเชื่อถือ

น้ำตาลกลูโคสสามารถถูกดูดซึมได้ทันทีเมื่อเข้าสู่ร่างกาย เพราะเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวขนาดเล็ก

เชื่อกันว่า เวลาร่างกายดูดซึมน้ำตาล ก็จะดูดซึมแอลกอฮอล์มาด้วย

...แต่ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

...ที่แน่ๆ คือ ขณะดื่มแอลกอฮอล์ ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง (Hypoglycemia)

เนื่องจาก ตับจะใช้พลังงานจำนวนมากในกำจัดแอลกอฮอล์ ออกจากร่างกาย อย่างเต็มที่และด่วนที่สุด

80% ของแอลกอฮอล์ ถูกกำจัดที่ตับ

ด้วยแอลกิฮอล์เป็นพิษต่อร่างกาย ตับจะทำทุกทางเพื่อกำจัดมัน (เช่น พยายามอ้วก) ทำให้ไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือด  โดยการสลายไกลโคเจน ซึ่งก็เป็นอีกหน้าที่นึงของตับ

ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

จนถึงขั้นหมดสติ ที่เราเรียกว่า น็อคกลางอากาศ, หลับฟุบคาโต๊ะ, บางคนหลับขณะปัสสาวะ หรือหลับคาโดส้วม ก็มี

นั่นเป็นเหตุให้คนเมาส่วนมาก #เมาจนอ้วก และ #เมาแอ๋จนน็อคหมดสติ ปิดสวิตซ์หลับจอดับวูบไปไม่รู้สึกตัว นั่นเอง

 

ปล. ขณะดื่มเหล้าระดับน้ำตาลในเลือดจะลด 

แต่ผลระยะยาว คือ #อ้วน

เพราะแอลกอฮอล์ เป็นสารให้พลังงาน เติมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็นพลังงานให้รถก็ยังได้

ดื่มเข้าไปก็จะเป็นพลังงาน ถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล แป้ง ไขมัน ทำให้นักดื่มอ้วน น้ำหนักขึ้นได้

 

5. นม ช่วยเคลือบกระเพาะ ทำให้เมาช้า

การดื่มนมสัก 1 แก้ว ก่อนดื่มสังสรรค์

นมจะไปเคลือบกระเพาะ ทำให้การดูดซึมแอลกอฮอล์ยากขึ้น และช้าลง

ส่งผลให้เมาช้านั่นเอง

เป็นที่มาว่า ไม่ควรกินยา กับนม

เพราะนอกจากยาหลายชนิดตะทำปฏิกิริยากับนม จนเกิดเป็นตะกอน ทำให้ยาดูดซึมไม่ได้เลย ถูกขับออกไปพร้อมอุจจาระแล้ว

ถึงยาจะไม่ทำปฏิกิริยากับนม แต่การดูดซึมยา ก็จะลดลง

ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณยาน้อยกว่าที่ควร

แอลกฮอล์ ก็เช่นกัน

สามารถทำปฏิกิริยากับยา บางชนิดได้ ทำให้โครงสร้างยาเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียการออกฤทธิ์ยาได้